การศึกษาออนไลน์ / ศูนย์รับสมัคร
นักศึกษามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
ตรัง ภูเก็ต
  • เฉลิมพระชนมพรรษา
  • ปั่น
  • 1
  • Provillage
Date Post 26-07-2022

นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์ฯ คว้ารองชนะเลิศ โครงการ Youth In Charge เสนอไอเดียพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ด้วย BCG Model

อาจารย์วิญญู วัฒนยนตร์กิจ และ อาจารย์กมลชนก เซ่งสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3  สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ Youth In Charge เสนอไอเดียพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ด้วย BCG Model จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยนักศึกษาจาก “ทีมวุ่นวายแต่เช้าเลย” คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการนำเสนอผลงานในหัวข้อ “แปร เปลี่ยน ปัง” การแปรรูปอาหาร (ผลไม้ ประมง ปศุสัตว์ สมุนไพร รวมถึงการเปลี่ยนผลผลิตเป็นพลังงาน ในชื่อผลงาน “มังคุดจากริมรั้วสู่ตัวบ้าน”

นักศึกษาจากสาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ได้เข้าร่วมโครงการ Youth In Charge รวม 52 คน โดยแบ่งออกเป็น 7 ทีม โดย “ทีมวุ่นวายแต่เช้าเลย” ประกอบด้วย นายพลอธิป รัตนกุล นายสามีร์ กาเจ นายวิสิทธิ์พล แก้วมุสิก นางสาวรานี หวังเอียด นางสาวกรกมล หะยีมายอ นางสาวปฐพร กิจวิจารณ์ ได้นำเสนอผลงานในชื่อ “มังคุดจากริมรั้วสู่ตัวบ้าน” และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในสี่ทีมตัวแทนเยาวชนจากภูมิภาค ภาคใต้ ในการพัฒนาต่อยอด แลกเปลี่ยน และนำเสนอโครงการอีกครั้งในระดับประเทศต่อไปในเร็วๆ นี้

โครงการ Youth In Charge เป็นกิจกรรมที่เปิดช่องทางในการให้นักศึกษาได้ร่วมคิดร่วมสร้าง และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในด้านต่างๆ โดยใช้หลัก BCG Model ในการดำเนินการ คือ สร้างสรรค์การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ใน 3 มิติ ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (B- Bioeconomy)  เน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (C-Circular Economy) คือการคำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องเป็นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คือต้องอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (G-Green Economy) คือการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้มั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน