Review | รีวิว
จำนวนรีวิว 0 รีวิว : 1 หน้า :
|
|
|
จังหวัดตรังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จับมือร่วมกันภายใต้ โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าอันดามัน“ มา แต่ตรัง” เทศกาลท่องเที่ยวแนวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10.00-21.00 น. ณ คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยงจังหวัดตรัง
นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กล่าวถึงแนวความคิดของการจัดงานว่า“ มา แต่ตรัง”“ มีจุดเริ่มต้นจากสำนวนโบราณ ของคนตรังที่มักพูดกันว่า“ มา แต่ตรังไม่หนังก็โนราห์” ซึ่งเป็นสำนวนที่สื่อให้เห็นว่าเมืองตรัง เป็นแหล่งศิลปะการแสดงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมโนราห์ หรือหนังตะลุง นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าเมืองตรังเป็นเมืองแห่งศิลปิน ตัวคนตรังเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ มีความเป็นศิลปิน การจัดงานนี้จะเป็นการเปิดเวทีให้ศิลปินนักสร้างสรรค์รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆได้มานำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในจังหวัดตรังด้วย
โดยมีพิธีเปิดงาน ณ ริมคลองห้วยยาง หน้ามูลนิธิกุศลสถานตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานในพิธีเปิดงานได้ให้เกียรติกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า“ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่าตรังโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตเมืองเก่าตรัง
เป็นหมุดหมายสำคัญในการขับเคลื่อนย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเครือข่ายย่านสร้างสรรค์ประเทศไทย (TCDN) เพื่อสร้างแรงผ่านกรอบแนวคิดบันดาลใจและสร้างประสบการณ์ใหม่กับคนตรัง และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวของประเทศร่วมกิจกรรม Press Tour ชมกิจกภายในงานได้รับความสนใจ แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนท้องถิ่นและในระดับภูมิภาคลงทะเบียนเข้าเด่น ๆ ของงานที่จัดขึ้นทั้ง 5 วัน เริ่มด้วยการโชว์เทคนิคพิเศษ Mapping พร้อมแสงสีเสียงและการแสดงมโนราห์
จากนั้นได้นำสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติทัวร์เส้นทางไฮไลท์ของงานโดยเริ่มตั้งแต่โซน 1 ไปจนถึงโซน 4 งานมา แต่ตรงในครั้งนี้ ได้รวมกลุ่มนักสร้างสรรค์มาร่วมจัดกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วันอาทิกลุ่มหัว -Boarn (หัวบอน) นักคิดสร้างสรรค์ในตรังรับหน้าที่จัดกิจกรรม“ ลองเล่น, ลองทํา, ลองเถเมืองประชา-ชนคนช่างเถ” อยู่ที่ตึกตรังชาตะโดยเน้นให้ผู้เข้าชมงานมีส่วนร่วมและสนุกไปกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รวมไปถึงจัดพื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลานตลาดนัดครีเอทีฟเรียกว่า“ เถเพลย์ครีเอทีฟมาร์เก็ต” รวมผู้ค้าในจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็น สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และปัตตานี มาร่วมแสดงผลงานศิลปะขายอาหารท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน
กิจกรรมไฮไลท์อื่น ๆ มีการจัดแสดงแสงสี (Mapping) และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ คริสตจักรตรังมูลนิธิกุศลสถาน และริมคลองห้วยยาง อาทิ นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนัง (Exhibition) ของกลุ่มนักสร้างสรรค์ Backyard Cinematic ที่จัดแสดงอยู่ที่โรงหนังเพชรรามา หรือวิกเพชร โรงหนังสแตนด์อโลน ที่ยังมีโครงสร้างครบถ้วน ที่สุดท้ายในจังหวัดตรัง ซึ่งจะมีการเล่าถึงความหยิบยกทั้งการฉายหนังเก่าหนังนอกกระแสที่หาชมได้ยาก และภาพถ่ายจากโรงหนังสแตนด์อโลน“ ซากโรงหนังหลังเลนส์” โดยจิระพงษ์ วงศ์วิวัฒน์ กิจกรรมเสวนาคนทำหนังที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังในหลากหลายมุมมองเฟื่องฟูของยุคสมัยที่โรงหนังสแตนด์อโลนยังเป็นที่นิยมมาก
อีกกลุ่มที่จัดแสดงงานได้อย่างสร้างสรรค์คือกลุ่ม Urban Seeker จัดกิจกรรมศิลปะจัดวาง Installation Art โดยได้เสนอแนวคิดจากการนำผักบุ้ง ตัวแทนพืชผักริมคลองในอดีต ซึ่งชุมชนริมคลองในสมัยก่อนนิยมเลี้ยงหมูชาวบ้านได้นำผักบุ้งและหมูมาผสมกันเกิดเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งเรียก“ หัวหมูผักบุ้ง” ซึ่งมีเฉพาะที่ตรงเท่านั้น มาจัดแสดงเป็นงานศิลปะที่น่าชมบริเวณริมคลองยังเปิดเป็นพื้นที่พักผ่อน ณ สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง (Pocket park) สำหรับนั่งชิลชมงานได้อย่างเพลิดเพลิน
สำหรับงาน“ มา แต่ตรัง .... ” ในครั้งนี้เกิดได้ขึ้นจากความร่วมมือของหลากภาคส่วนชุมชนและผู้คนเมืองตรัง ต่างก็มีความตื่นตัวเป็นอย่างมากและคาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกันเกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรังมีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยงได้บันทึกเรื่องราวรากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรังช่วยสนับสนุนธุรกิจในย่านเมืองเก่าให้มีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาลเกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่และมีการรับรู้กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้างอีกต่อไปในอนาคต